ข้อมูลบริษัท

ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของประธานกรรมการบริหาร / ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO)
  1. มีอำนาจควบคุมการบริหารงานของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมการบริหารกำหนดไว้ และรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมการบริหารตามลำดับ
  2. พิจารณาการจัดสรรงบประมาณประจำปีที่ฝ่ายบริหารจัดทำเพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการบริหารพิจารณาอนุมัติ รวมทั้งควบคุมการใช้จ่ายประจำปีของแต่ละหน่วยงาน
  3. พิจารณาประเมินการดำเนินงานของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจากภายในหรือภายนอกบริษัทฯ
  4. มีอำนาจสั่งการ ออกระเบียบ ประกาศ บันทึก เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมการบริหาร หรือเพื่อผลประโยชน์ของบริษัทฯ เป็นสำคัญ
  5. มีอำนาจพิจารณาอนุมัติการจัดซื้อ และใช้จ่ายเงินในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินงานตามปกติของบริษัทฯ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายในการบริหาร และรายจ่ายลงทุนให้เป็นตามงบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมการบริหาร ภายใต้วงเงินที่กำหนดไว้ตามตารางอำนาจอนุมัติทั่วไปที่ได้ประกาศใว้
  6. พิจารณาการนำสิทธิและทรัพย์สินของบริษัทฯ ไปก่อภาระผูกพันใดกับบุคคล บริษัท ห้างร้าน หรือสถาบันการเงิน เพื่อเสนอคณะกรรมการบริหารอนุมัติ
  7. พิจารณาผลกำไรและขาดทุนของบริษัทฯ การเสนอจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลหรือเงินปันผลประจำปี เพื่อเสนอคณะกรรมการบริษัทอนุมัติ
  8. ดำเนินการใดๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทฯ
  9. ควบคุม ดูแล และติดตามการดำเนินงานของกรรมการผู้จัดการบริษัทในเครือ

ทั้งนี้ ประธานกรรมการบริหารจะอยู่ใต้การบังคับบัญชาและรายงานต่อคณะกรรมการบริหารและให้ ประธานกรรมการบริหารปฏิบัติตามแนวทางและนโยบายที่คณะกรรมการบริหารกำหนดไว้

อนึ่ง การดำเนินการใด ๆ ของประธานกรรมการบริหารจะต้องไม่มีลักษณะเป็นการดำเนินการที่ทำให้ ประธานกรรมการบริหารสามารถอนุมัติรายการที่ตนหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง หรืออาจมีส่วนได้เสีย หรืออาจได้รับประโยชน์ในลักษณะใด ๆ หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใดกับบริษัทฯ หรือบริษัทย่อยของบริษัทฯ (ตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน) ยกเว้นเป็นการอนุมัติรายการที่เป็นไปตามนโยบายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้พิจารณาอนุมัติไว้

คณะกรรมการบริษัทมีอำนาจในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงขอบเขตอำนาจหน้าที่ของประธานกรรมการบริหารได้ตามที่จำเป็นหรือเห็นสมควร

ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการผู้จัดการ
  1. มีอำนาจควบคุมการบริหารงานของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมการบริหารกำหนดไว้ และรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมการบริหารตามลำดับ
  2. พิจารณาการจัดสรรงบประมาณประจำปีที่ฝ่ายบริหารจัดทำเพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการบริหารพิจารณาอนุมัติ รวมทั้งควบคุมการใช้จ่ายประจำปีของแต่ละหน่วยงาน
  3. พิจารณาประเมินการดำเนินงานของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจากภายในหรือภายนอกบริษัทฯ
  4. มีอำนาจสั่งการ ออกระเบียบ ประกาศ บันทึก เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมการบริหาร หรือเพื่อผลประโยชน์ของบริษัทฯ เป็นสำคัญ
  5. มีอำนาจพิจารณาอนุมัติการจัดซื้อ และใช้จ่ายเงินในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินงานตามปกติของบริษัทฯ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายในการบริหาร และรายจ่ายลงทุนให้เป็นตามงบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมการบริหาร ภายใต้วงเงินที่กำหนดไว้ตามตารางอำนาจอนุมัติทั่วไปที่ได้ประกาศไว้
  6. พิจารณาการนำสิทธิและทรัพย์สินของบริษัทฯ ไปก่อภาระผูกพันใดกับบุคคล บริษัท ห้างร้าน หรือสถาบันการเงิน เพื่อนำเสนอคณะกรรมการบริหารอนุมัติ
  7. ดำเนินการใด ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทฯ

ทั้งนี้ กรรมการผู้จัดการจะอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาและรายงานโดยตรงต่อประธานกรรมการบริหาร และให้ กรรมการผู้จัดการปฏิบัติตามแนวทางและนโยบายที่ประธานกรรมการบริหารกำหนดไว้

อนึ่ง การดำเนินการใด ๆ ของกรรมการผู้จัดการจะต้องไม่มีลักษณะเป็นการดำเนินการ ที่ทำให้กรรมการผู้จัดการ สามารถอนุมัติรายการที่ตนหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง หรืออาจมีส่วนได้เสีย หรืออาจได้รับประโยชน์ในลักษณะใด ๆ หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใดกับบริษัทหรือบริษัทย่อยของบริษัท (ตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน) ยกเว้นเป็นการอนุมัติรายการที่เป็นไปตามนโยบายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้พิจารณาอนุมัติไว้

คณะกรรมการบริษัทมีอำนาจในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงขอบเขตอำนาจหน้าของกรรมการผู้จัดการได้ตามที่จำเป็นหรือเห็นสมควร

องค์ประกอบและการสรรหาประธานกรรมการบริหาร / ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO)

ประธานกรรมการบริหาร / ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) มาจากการเสนอชื่อของคณะกรรมการบริหาร โดยคัดเลือกจากบุคคลที่อยู่ในคณะกรรมการบริหารขณะที่ทำการคัดเลือก เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้อนุมัติแต่งตั้งบุคคลที่ถูกเสนอชื่อเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO)

องค์ประกอบและการสรรหากรรมาการผู้จัดการ

กรรมการผู้จัดการ มาจากการเสนอชื่อของคณะกรรมการบริหาร โดยคัดเลือกจากบุคคลที่อยู่ในคณะกรรมการบริหารขณะที่ทำการคัดเลือก เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้อนุมัติแต่งตั้งบุคคลที่ถูกเสนอชื่อเข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี

UNDER CONSTRUCTION